ข่าวไทยพีบีเอสเรื่องการชุมนุมที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์เพื่อเรียกร้องผู้นำอาเซียนให้ถือเรื่องการหายตัวไปของสมบัด สมพอนเป็นประเด็นการทำงานเร่งด่วน
คลิ๊กที่ภาพเพื่อชมวิดีโอบน YouTube
ข่าวไทยพีบีเอสเรื่องการชุมนุมที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์เพื่อเรียกร้องผู้นำอาเซียนให้ถือเรื่องการหายตัวไปของสมบัด สมพอนเป็นประเด็นการทำงานเร่งด่วน
คลิ๊กที่ภาพเพื่อชมวิดีโอบน YouTube
สำนักฃ่าวอิศรา: 27 มีนาคม 2013
‘เมียทนายสมชาย’ จี้ ‘ดีเอสไอ’ เอาจริงคดีหายตัว นานาชาติกดดันลาวตามหา ‘สมบัด เอ็นจีโอแมกไซไซ’ ถูกอุ้มหาย 100 วัน ภาคประชาสังคมไทยร่วมด้วย
วัน ที่ 27 มี.ค. 56 กองทุนรางวัลสมชาย นีละไพจิตร มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่นน้ำโขง (TERRA) และ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จัดเสวนา ‘สิทธิมนุษยชนในประชาคมอาเซียน:กรณีศึกษาการสูญหายของสมบัด สมพอน และสมชาย นีละไพจิตร’ ณ คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ (ท่าพระจันทร์)
นางอังคณา นีละไพจิตร ภรรยานายสมชาย นีละไพจิตร ในฐานะประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ กล่าว ว่า ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนหลายมาตราไม่สอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษย ชนสากล เช่น ม.5, ม.7 และม.8 จึงเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าจะคุ้มครองสิทธิของคนในภูมิภาคได้หรือไม่ โดยจากรายงานขององค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่ได้รับการร้องเรียนระบุอาเซียนมีผู้ถูกบังคับให้สูญหาย แบ่งเป็นประเทศลาว 1 กรณีและเวียดนาม 1 กรณี (ไม่รวมกรณีสมบัด สมพอน) พม่า 2 กรณี อินโดนีเซีย 162 กรณี ไทย 71 กรณี ซึ่งยูเอ็นเคยขอความร่วมมือรัฐบาลไทยเข้าร่วมตรวจสอบข้อเท็จจริง แต่ได้รับการปฏิเสธ
นางอังคณา ยังกล่าวถึงกรณีทนายสมชายว่าตกเป็นเหยื่อถูกบังคับให้สูญหายจากการกระทำของ เจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งคดีเกิดความไม่โปร่งใสในการสอบสวน ถูกแทรกแซง จนพยานหวาดกลัวว่าจะถูกคุกคามหลบหนีไปต่างประเทศ แม้ว่ารัฐบาลได้ร่วมลงนามในอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลสูญหาย เมื่อปี 55 แล้ว
“กรณีคดี สมชายอาจเป็นเพียงโศกนาฏกรรมส่วนตัวซึ่งไม่ต้องมีใครรับผิดชอบ รัฐบาลอาจจะย้อนว่าได้เงินแล้วจะเอาอะไรอีก ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับสมชาย เราจะไม่ละทิ้งอุดมการณ์ที่เขามีมาตลอดชีวิต สมชาย นีละไพจิตร ไม่ใช่วีรบุรุษ แต่คือคนธรรมดาซึ่งเชื่อมั่นในความยุติธรรม”
นางอังคณา กล่าว ถึงความคืบหน้าว่าคดีลักพาตัวอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของศาลฎีกา และคดีคนสูญหายอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เป็น 1 ใน 3 คดี (คดีสมชาย นีละไพจิตร-กมล เหล่าโสภาพันธ์-อัลรู ไวลี่) ซึ่งวันนี้ดีเอสไอพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้จับกุมนายสมคิด บุญถนอม จำเลยคดีอุ้มนายอัลรู ไวลี่ นักธุรกิจชาวซาอุดิอาระเบีย เข้าคุกให้ได้ แต่คดีสมชายและกมลกลับไม่คืบหน้า สะท้อนว่าบางทีความยุติธรรมจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปัจจัยดุลอำนาจ ซึ่งเกิดกับคนธรรมดายาก โดยคุณสมชายเป็นกรณีศึกษาที่รัฐบาลจะต้องสร้างกลไกป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ขอคัดค้านแนวคิดการนำกฎหมายซ้อมทรมานมารวมกับกรณีอุ้มหาย เพราะมีนิยามของคำว่าเหยื่อต่างกัน
“เหยื่อ ในอนุสัญญาซ้อมทรมานหมายถึงผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงทั้งทางกาย จิตใจ และการลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ส่วนเหยื่อในนิยามของการอุ้มหาย ไม่ได้หมายถึงผู้ถูกบังคับอุ้มหายเท่านั้น แต่รวมถึงครอบครัว พยาน และบุคคลแวดล้อมที่ต้องได้รับการคุ้มครองด้วย” นางอังคณา กล่าว
นาย วิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ นักพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมผู้เคยร่วมงานกับสมบัด ในฐานะผู้อำนวยการเครือข่ายพลังงานเพื่อนิเวศวิทยาในลุ่มน้ำโขง กล่าวว่าต้น เหตุของการถูกบังคับให้สูญหายจำนวนมาก เกิดจากความขัดแย้งในการแย่งชิงฐานทรัพยากร ปัญหาชาติพันธุ์ ความขัดแย้งข้ามพรมแดน เช่นเดียวกับกรณีหายตัวไปของสมบัด สมพอน (นักพัฒนาอาวุโสชาวลาวที่ได้รับรางวัลแมกไซไซสาขาพัฒนาชุมชนปี 2548) ครบ 100 วัน ซึ่งสมบัดร่วมต่อสู้คัดค้านการนำ พื้นที่ในประเทศให้เอกชนต่างชาติเช่าในระยะเวลาที่ยาวนาน ส่งมีผลกระทบให้ชาวบ้านต้องสูญเสียที่ดินโดยไม่ได้รับค่าชดเชยเลย และร่วมคัดค้านกรณีการสร้างเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งอาจสาเหตุของการหายตัวไปหรือการเชือดไก่ให้ลิงดู
วิฑูรย์ กล่าวอีกว่ารัฐบาลลาวประเมินสถานการณ์หายตัวไปของอ้ายสมบัดต่ำเกินไปโดยบอก ว่าไม่รู้ไม่เห็น เพราะขณะนี้ประชาคมโลกกำลังหันมาจับจ้องการตามหาความยุติธรรมในเรื่องนี้
ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อ 25 มี.ค. 56 กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคมแห่งประเทศไทยเข้ายื่นหนังสือต่อน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้รัฐบาลไทยมีส่วนร่วมคุ้มครองสิทธิพื้นฐานของประชาชนในประเทศลาว กรณีการหายตัวไปของสมบัด สมพอน ขณะที่นายจอห์น แครี่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลลาวชี้แจงความคืบหน้า .
ประชาไท: 27 มีนาคม 2013
ครบ 100 วันการหายตัวไปของ ‘สมบัด สมพอน’ นักกิจกรรมลาว – ‘อังคณา นีละไพจิตร’ ชี้ข้ออ่อนปฏิญญาสิทธิมนุษยชนอาเซียน ไม่อาจคุ้มครองคนใน ขอนานาชาติช่วยกระตุ้นรัฐบาลเร่งหาความจริง เพื่อนร่วมงาน ‘สมบัด’ เชื่อไม่ใช่เรื่องส่วนตัว แต่เชือดไก่ให้ลิงดู
วิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ-อังคณา นีละไพจิตร-ประทับจิต นีละไพจิตร
27 มีนาคม 56 ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กองทุนรางวัลสมชาย นีละไพจิตร ร่วมกับ มูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ โครงการฟื้นฟูนิเวศในภูมิภาคแม่น้ำโขง (TERRA) และแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย จัดเสวนาหัวข้อ “สิทธิมนุษยชนในประชาคมอาเซียน กรณีศึกษาการสูญหายของสมบัด สมพอน และสมชาย นีละไพจิตร มีผู้ร่วมเสวนาคือ นางอังคณา นีละไพจิตร ประธานคณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ภรรยาของนายสมชายผู้ถูกบังคับให้หายตัวไป ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2547 และนายวิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ นักพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมผู้เคยร่วมงานกับสมบัด และผู้อำนวยการเครือข่ายพลังงานเพื่อนิเวศวิทยาในลุ่มน้ำโขง ดำเนินรายการ โดย ประทับจิต นีละไพจิตร
ช่วงเริ่มต้นการเสวนา มีการอ่านแถลงการณ์ของ นางอ๋อง ชุย เม็ง ภรรยาของนายสมบัด นักพัฒนาชาวลาว ผู้ถูกบังคับหายตัวตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2555 นางอ๋อง ชุย เม็ง สื่อสารมาว่า ตนเองมีความทุกข์ทรมานต่อการหายตัวไปของสามีอย่างมาก และขอแสดงความเสียใจต่อนางอังคณา พร้อมทั้งแสดงความเคารพต่อความเข้มแข็งกล้าหาญในการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม การหายตัวไปของสมบัดนั้น นางอ๋อง ชุย เม็งเห็นว่าเกิดขึ้นโดยการรับรู้ของตำรวจและเป็นหน้าที่ที่รัฐบาลจะต้องรับ ผิดชอบ ให้เขากลับมาอย่างปลอดภัย แม้ในภายหลัง รัฐบาลได้ยืนยันว่าตำรวจพยายามหานายสมบัดอย่างดีที่สุดแล้ว แต่ไม่พบ ตนเองก็จะยังเชื่อมั่นในการทำงานของรัฐต่อไป เพราะไม่มีทางเลือกอื่นอีก
นาง อ๋อง ชุย เม็ง เห็นว่า การทำให้บุคคลสูญหายไป เป็นการสร้างความหวาดกลัวให้แก่บุคคลในชาติซึ่งมีความคิดความเชื่อ หรือทำกิจกรรมเพื่อต่อต้านความอยุติธรรมในสังคม โดยอาจไม่ได้มีสาเหตุมาจากกลุ่มอาชญากรรม แต่อาจมาจากรัฐเอง เพื่อจะปิดปากพลเมืองที่ทำตัวมีปัญหากับรัฐ การหายตัวไปของนายสมบัดทำให้เชื่อว่า เราไม่สามารถละเลยการละเมิดสิทธิ์ดังกล่าว เพราะคิดว่าเป็นเพียงเรื่องโชคร้ายของใครบางคน หากต้องยอมรับว่า การสูญหายโดยไม่สมัครใจเป็นอาชญากรรม ละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นการกระทำที่ยังไม่ถูกลงโทษ ทั้งที่เป็นการปรามาสต่อหลักนิติรัฐ
ใน การเสวนา นางอังคณากล่าวถึงการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียนว่า การเปิดอาเซียนจะทำให้คนที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจได้รับผลประโยชน์มาก แต่คนกลุ่มอื่นจะได้อะไร คนธรรมดา คนชนชั้นล่างๆ จะได้อะไรบ้าง นางอังคณามองว่า ภูมิภาคอาเซียนมีสิ่งงดงามอยู่ในสังคม ที่หาซื้อจากไหนไม่ได้ นั่นคือ ความเกื้อกูลแบ่งปัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน แต่เมื่อพูดถึงเรื่องสิทธิ์ การเข้าถึงความยุติธรรม ถือว่ายังเป็นรองภูมิภาคอื่นๆ Continue reading “จากทนายสมชายสู่อ้ายสมบัด 'อังคณา' ขอนานาชาติกระตุ้น รบ.ลาวเร่งหาความจริง”
วันนี้ (25 มีนาคม 2556) ภาคประชาชนและภาคประชาสังคมไทย 125 องค์กรพร้อมทั้งประชาชนอีกแปดสิบรายชื่อ ส่งจดหมายเรียกร้องต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีไทย ในโอกาสที่สมบัด สมพอน นักพัฒนาอาวุโสชาวลาว ถูกอุ้มหาย ทั้งนี้ แม้มีหลักฐานจากกล้องวงจรปิด แสดงให้เห็นว่าสมบัดโดนเรียกให้หยุดรถโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรก่อนถูกกลุ่มชายฉกรรจ์มานำตัวไป ทางรัฐบาลลาวยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนให้กับประชาคมโลก ที่เฝ้าติดตามและทวงถามถึงชะตากรรมของสมบัดแต่อย่างใด
จดหมายภาษาไทยอยู่ที่นี่ และ ภาษาอังกฤษอยู่ที่นี่
การถูกอุ้มหายของสมบัด สมพอน นักพัฒนาผู้มีบทบาทยอมรับกันไปทั่วโลก และถือเป็นราษฏรอาวุโสผู้มีบทบาทสำคัญยิ่งในลาว เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สปป. ลาวกำลังเปิดตัวเองเข้าเป็นส่วนหนึ่งของประชาคมโลก และเรียกร้องความช่วยเหลือร่วมมือจากนานาประเทศ ก่อให้เกิดกระแสความเป็นห่วงและคำถามมากมายต่อรัฐบาลสปป.ลาวจากทั่วโลก จดหมายจากประชาชนและภาคประชาสังคมไทย เรียกร้องให้รัฐบาลไทยมีส่วนร่วมคุ้มครองสิทธิพื้นฐานของประชาชนในสปป.ลาว ในฐานะที่ไทยเป็นเพื่อนบ้านใกล้ชิดที่มีส่วนในการสนับสนุนสปป.ลาวให้เข้าร่วมกับตลาดโลก เพื่อให้พ้นจากสภาพประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุด (LDC) โดยให้นายกรัฐมนตรี “แสดงจุดยืนและความสมานฉันท์ร่วมกับชุมชนประชาคมโลก ในการให้ความสำคัญกับสิทธิของประชาชน ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักที่จะได้รับประโยชน์จากการพัฒนาในประเทศสปป.ลาว ด้วยการส่งเสริมการเติบโตของภาคประชาสังคม ในการเคารพและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของประชาชน โดยให้ความสำคัญกับกรณีการอุ้มหายท่านสมบัด สมพอน โดยตระหนักว่า เหตุการณ์ดังกล่าวมีความสำคัญเทียบเท่ากับความร่วมมือในการพัฒนาของทั้งสองประเทศ” ทั้งนี้ ในความเห็นของภาคประชาชน การพัฒนาระหว่างไทย-ลาวที่ผ่านมา รัฐบาลยังเน้นการค้าการลงทุน แต่ยังละเลยประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืนและสิทธิพื้นฐานของประชาชนลาว ที่การถูกอุ้มหายของสมบัด สมพอน นักพัฒนาอาวุโสเจ้าของรางวัลแม็กไซไซปี 2548 ผู้มีความเชื่อว่า การพัฒนาที่แท้จริง ย่อมวัดได้จากดัชนีความสุข ไม่ใช่ดัชนีการเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว จึงสะท้อนให้เห็นปัญหาที่มีอยู่ในลาวที่ไม่ได้รับการพูดถึงที่ต้องการการแก้ไข
“การหายตัวไปโดยไม่ได้รับคำตอบของบุคคลอย่างท่านสมบัด เป็นความเงียบงันอันเป็นสิ่งบ่งชี้ว่ามีข้อเท็จจริงบางประการในสังคมลาวที่ก่อให้เกิดความรุนแรงต่อผู้คนในลาว ที่ถูกละเลยไม่พูดถึงมาเป็นเวลานาน“ จดหมายระบุ
ในวันนี้ซึ่งเป็นวันครบรอบ 100 วันของการหายตัวไปของสมบัด สมพอน มีองค์กรทั้งภาคประชาชนและภาครัฐนานาประเทศ ส่งจดหมายและแสดงพลังร่วมกันไปยังรัฐบาลในประเทศของตน รวมทั้งทวงถามถึงสมบัด สมพอนกับสถานทูตลาวในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทย ฟิลลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และประเทศในสหภาพยุโรป รวมทั้งนายจอห์น แคร์รี รมว.กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐที่มีสารแสดงความเป็นห่วงของสหรัฐอเมริกาในวันนี้ด้วย โดยมีข้อความตอนหนึ่งในสารว่า “(การถูกอุ้มหายของสมบัด) ทำให้เกิดคำถามต่อระบบกฏหมายและความพันธะสัญญาและความรับผิดชอบของลาวต่อประชาคมโลก” อันทำให้เป็นข่าวชิ้นใหญ่ในหนังสือพิมพ์ฉบับใหญ่ในสหรัฐอเมริกาเช่นนิวยอร์ค ไทมส์ในทันที
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ:
สุนทรี หัตถึ เซ่งกิ่ง คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช)/ASEAN Watch-Thailand โทร. 089-713-2070
รายการไทย พีบีเอส 15 มีนาคม 2556
สำนักข่าวอิศรา: 15 มีนาคม 2013
เยาวชน ไทยลุ่มน้ำโขงยื่นหนังสือสถานทูตลาว เรียกร้อง-รณรงค์ตามหา ‘สมบัด สมพอน’ อดีตนักพัฒนาแมกไซไซหายตัวลึกลับ คาดเหตุช่วยชาวบ้านขัดผลประโยชน์
วันที่ 15 มี.ค. 56 ที่สถานทูตลาวประจำประเทศไทย เครือข่ายเยาวชนไทยและแม่น้ำโขง ประมาณ 30 คนเข้ายื่นหนังสือถึง ฯพณฯ ทองสิง ทำมะวง นายกรัฐมนตรีประเทศลาว พร้อมสำเนาถึงประธานสภาแห่งชาติ ประเทศลาว กรรมการกรมการเมืองศูนย์กลางพรรคประชาชนปฏิวัติลาว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลาว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันความสงบ ประเทศลาว เลขาธิการอาเซียน และสมาชิกคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ให้มีการสืบค้นหาตัว นายสมบัด สมพอน ผู้ได้รับรางวัลรามอนแมกไซไซ สาขาบริการชุมชน ปี 48 ภายหลังถูกกลุ่มบุคคลนิรนามลักพาตัวหายไปด้วยรถกระบะ หลังจากถูกตำรวจเรียกให้หยุดที่ด่านตรวจบนถนนท่าเดื่อ อ.ศรีสัดตะนาก กรุงเวียงจันทร์
โดยหนังสือมี ใจความว่า ประเทศลาวเป็นภาคีของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการ เมือง โดยในม. 9 ได้กล่าวถึงการคุ้มครองสิทธิในเสรีภาพและความปลอดภัยของบุคคล และยังลงนามในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมิให้บุคคลสูญหาย นอกจากนี้ประเทศลาวและประเทศสมาชิกของอาเซียนได้ลงนามร่วมกันในปฏิญญาสิทธิ มนุษยชนอาเซียน ดังนั้น ลาวจึงต้องสนับสนุน ส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
ทั้งนี้ เรียกร้องให้หน่วยงานข้างต้น ตระหนักว่า การลักพาตัวสมบัด สมพอน คืออาชญกรรมต่อสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาคแม่น้ำโขงของอาเซียน เป็นสิ่งขัดขวางการพัฒนาของภูมิภาคนี้ อีกทั้งละเมิดหลักการสิทธิมนุษยชนพื้นฐาน ซึ่งเหตุการณ์รุนแรงเช่นนี้ควรได้รับการแก้ไขให้ดีขึ้นด้วยความสมานฉันท์
นอกจาก นี้ต้องสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสืบสวนการถูกลักพาตัวไปอย่างเร่ง ด่วนและโปร่งใส ภายใต้หลักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ พร้อมเปิดเผยข้อมูลความคืบหน้าในการสืบสวนอย่างครบถ้วนแก่ครอบครัวของสมบัด และบุคคลอื่นที่ควรได้รับ ที่สำคัญจะต้องรับรองว่าจะตามหาสมบัดอย่างถึงที่สุดด้วยมาตรการทั้งหมดที่มี เพื่อช่วยเหลือให้กลับสู่ครอบคัวโดยเร็วที่สุด
น.ส.ศักดิ์สินี เอมะศิริ แกนนำเครือข่ายเยาวชนไทยและแม่น้ำโขง กล่าวว่า การหายตัวไปของท่านสมบัด สมพอน บอกไม่ได้ว่าเกิดจากสาเหตุใด แต่ส่วนตัวคิดว่าน่าจะเป็นกรณีเดียวกับการหายตัวไปของทนายสมชาย นีละไพจิตร และบุคคลอื่น ๆ ในอดีตที่ช่วยเหลือชาวบ้านที่ขัดผลประโยชน์ อย่างไรก็ตามเชื่อว่าท่านสมบัด สมพอน ยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งเราจะสานต่อเจตนารมณ์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ระหว่างเยาวชนด้วยกัน ตามที่ท่านเคยมีแนวทางช่วยเหลือเยาวชนในภูมิภาคอาเซียนเกี่ยวกับการส่งเสริม การเรียนรู้และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
“เรา ในฐานะเยาวชนจะทำกิจกรรมเรียกร้องตามหาท่านสมบัดด้วยสันติวิธี โดยไม่จำเป็นต้องไปด่า ประท้วง หรือโวยวาย แต่เราจะทำในศักยภาพของเยาวชนผ่านการแสดงออกหลายหลายแง่มุม เช่น ศิลปะ ดนตรี การแสดง” แกนนำเครือข่ายฯ กล่าว